การทำงานในแต่ละเดือนตามการจ้างงานก็จะได้รับเงินเดือน แต่หากในวันหนึ่งเกิดการเลิกจ้างโดยที่เราไม่ได้มีความผิด ก็จะกระทบกับการเงินและความมั่นคงของเรา ดังนั้นตามข้อกฎหมายจึงได้มีค่าตกใจกรณีเลิกจ้างไว้คุ้มครองแรงงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ค่าตกใจกรณีเลิกจ้าง คือ
ค่าตกใจกรณีเลิกจ้าง เป็นเงินที่ได้รับเป็นเงินชดเชยการถูกเลิกจ้าง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายจ้างจะต้องจ้ายเงินค่าตกใจนี้ ให้จากการให้ออกจากงาน เลิกจ้างโดยไม่บอกให้รู้ล่วงหน้า หรือบอกล่วงหน้าแต่ได้บอกน้อยกว่าที่กำหนด
ซึ่งนอกจากค่าตกใจแล้วคุณจะได้ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินค่าชดเชยการถูกลูกจ้างด้วย จากการออกจากงานโดยไม่สมัครใจที่ไม่ใช่เกิดจากความผิดของคุณ
โดยค่าตกใจ และเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างนี้ ก็จะเป็นเงินสำรองฉุกเฉินให้กับคุณในช่วงที่ยังไม่สามารถหางานใหม่ได้ จะได้เท่าไหร่กี่บาทนั้นก็ขึ้นอยู่กับ เงินเดือน เดิมที่เคยได้ และระยะเวลาการทำงานในที่ทำงานเดิมที่ให้คุณออกจากงานนี้
ได้เงินเท่าไหร่
สำหรับเงินชดเชย และเงินค่าตกใจในการถูกเลิกจ้างนี้เป็นเงินคนละส่วนกัน โดยเราขอเริ่มต้นด้วยเงินค่าตกใจก่อนครับ
ส่วนแรก เงินค่าตกใจ (สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า) จะได้เป็นเงินที่กฎหมายแรงงาน กำหนดให้นายจ้างที่ไม่บอกลูกจ้างให้ทราบก่อน 30-60 วัน ตามแต่กรณีคือ
- กรณีเลิกจ้างทั่วไป กรณีสัญญาจ้างแบบไม่กำหนดระยะเวลา ให้แจ้งล่วงหน้าภายใน 1 งวดของการจ้างงาน ไม่อย่างนั้นต้องจ่ายตกใจตามงวด
- จ่ายเงินทุกเดือน ต้องบอกล่วงหน้า 30 วัน
- จ่ายเงินทุกสัปดาห์ ต้องบอกล่วงหน้า 7 วัน
- ตัวอย่างเช่น จ่ายทุกวันที่ 30 แล้วบอกเลิกจ้างวันที่ 30 กันยายน จะต้องจ่ายค่าตกใจให้ถึงวันที่ 30 ตุลาคม
- กรณีเลิกจ้างจากการเปลี่ยนแปลง เพราะการปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการ เนื่องมาจากนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี จนต้องลดจำนวนลูกจ้างลง ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน
- กรณีย้ายสถานประกอบการ (ย้ายสำนักงาน) ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน หากไม่ได้แจ้งล่วงหน้าต้องบอกล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน (1 เดือน)
ดังนั้นจะได้เงินเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะได้รับเงินค่าตกใจกรณีเลิกจ้างกี่วัน หากได้เงินเดือน 15,000 บาท และได้รับเงินค่าตกใจ 1 เดือน ก็จะได้รับเงินค่าตกใจ 15,000 บาทนั้นเอง
ส่วนที่สอง เงินค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะได้รับเงินตามจำนวน
- ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน
- ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 90 วัน
- ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน
- ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
- ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
เช่น ทำงานมา 120 วัน เงินเดือนเดือนละ 15,000 บาทก็จะได้รับเงินชดเชยเลิกจ้าง 30 วัน (ประมาณ 15,000 บาท)
และหากไม่ได้แจ้งล่วงหน้าตามเงื่อนไข ก็จะได้ค่าตกใจเพิ่มขึ้นมาด้วย
ต้องได้จ่าย ภายในกี่วัน
โดยปกติแล้วเงินชดเชยจากการถูกเลิกจ้างจะต้องชำระในวันสุดท้ายของการทำงาน ถ้าไม่ได้รับสามารถติดต่อร้องเรียนได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน