หลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย หลายหน่วยงาน บริษัท โรงเรียน และสถาบันต่าง ๆ เริ่มกลับมาทำงานกันเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ ทำให้การเดินทางด้วยรถขนส่งสาธารณะ กลับมาคึกคักมากขึ้น และหากจะพูดถึงการเดินทางที่เป็นที่นิยม คงจะหนีไม่พ้นการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า เพราะการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสามารถตอบโจทย์ต่อกิจวัตรประจำวันของเราได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปทำงาน ไปเที่ยว ไปเรียน ไปทำธุระ หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องใช้รถไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ บทความนี้เราจะพามาเช็คดูว่า ปัจจุบันอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าของเรา มีราคาเท่าไหร่กันบ้าง ไปดูกันได้เลย
อัปเดตอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 2022
รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS)
1. อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน)
- ต้นทาง สถานีคูคต – ปลายทาง สถานีเคหะ จะมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 16 บาท และตลอดสาย 59 บาท
2. อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สีเขียวเข้ม)
- ต้นทาง สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ – ปลายทาง สถานีบางหว้า จะมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 16 บาท และตลอดสาย 59 บาท
3. อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีทอง
- ต้นทาง สถานีกรุงธนบุรี – ปลายทาง สถานีคลองสาน จะมีอัตราค่าโดยสารตลอดสาย 15 บาท
รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที (MRT)
1. อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที สายสีน้ำเงิน
- ต้นทาง สถานีท่าพระ – ปลายทาง สถานีอิสรภาพ อัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 17 บาท และตลอดสาย 42 บาท
2. อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที สายสีม่วง
- ต้นทาง สถานีคลองบางไผ่ – ปลายทาง สถานีเตาปูน อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 9 บาท และตลอดสาย 42 บาท
รถไฟฟ้า Airport Rail Link
อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า Airport Rail Link
- ต้นทาง สถานีพญาไท – ปลายทาง สถานีสนามบินสุวรรณภูมิ อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท และตลอดสาย 45 บาท
รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง
1. รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม
- ต้นทาง สถานีรังสิต – ปลายทาง สถานีบางซื่อ อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 16 บาท และตลอดสาย 42 บาท
2. รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน
- ต้นทาง สถานีตลิ่งชัน – ปลายทาง สถานีบางซื่อ อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 12 บาท และตลอดสาย 35 บาท
แม้การเดินทางบางสถานีอาจจะยังไม่เปิดให้บริการเต็มที่ แต่เชื่อว่าอีกไม่นานจะรองรับผู้โดยสารที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันปกติแน่นอน อีกทั้งอีกไม่นาน เราจะเห็นการสัญจรไปมาด้วยรถไฟฟ้ากันมากขึ้น เพราะช่วยประหยัดเวลา อีกทั้งค่าโดยสารก็ไม่แพงมาก ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ยังคงเลือกใช้บริการรถไฟฟ้า ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ เชื่อว่าหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเข้ามาดูแลค่าโดยสาร เพื่อพิจารณาลดหรือเพิ่มอัตราค่าบริการบางสถานีให้เหมาะสม เพื่อตอบโจทย์กับผู้โดยสารที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคตด้วยนั่นเอง
Reference:
- คอนโดนิวบ์. (2565). อัปเดต ค่าโดยสาร BTS ปัจจุบัน (เขียว,ทอง). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2565, จาก https://bit.ly/3aQiLUy
- ทีเอ็นเอ็นออนไลน์. (2565). อัปเดต รถไฟฟ้า ปี 2565 เปิดบริการแน่กี่สาย อัตราค่าโดยสารเริ่มต้นกี่บาท?. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2565, จาก https://bit.ly/3xKiStO